เทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน"สิบสองเพ็งไทสกล"

        ประเพณีลอยกระทง เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีประวัติ ว่า “ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ “ หรือ ” นางนพมาศ ” เป็นผู้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวหรือ ” ดอกกมุท ” ถวายพระร่วงเจ้าในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เพื่อลอยลงน้ำซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก ถึงกับทรงรับสั่งว่าทุกๆ ปีให้มีประเพณีดังนี้ขึ้น และโปรดให้เรียกประเพณีนี้ว่า “ พระราชพิธีจองเปรียง ” หรือ “ ลอยกระทงพระประทีป ” แต่ถ้าเป็นพิธีของชาวบ้านทั่วๆ ไปก็จะพากันเรียกว่า “ พิธีลอยกระทง ” หรือ ” ลอยกระทง ” โดยพุทธศาสนิกชนมีความเชื่อว่า พิธีลอยกระทงนี้เป็นพิธีสักการะบูชาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตราบมาถึงทุกวันนี้ จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทง ซึ่งชาวบ้านต้องทำกระทงลงลอยน้ำที่อยู่ใกล้ชุมชน และชาวจังหวัดสกลนครมี หนองหาร เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีตำนานเล่าขานอันยิ่งใหญ่ ชาวจังหวัดสกลนครได้กำหนดเอา สระพังทอง ซึ่งอยู่ใกล้หนองหาร ชาวเมืองถือว่าเป็นสถานที่ศักสิทธิ์ และปัจจุบันยังเป็นสถานที่ตั้งสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ เป็นเมืองที่ตั้งพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จแปร พระราชฐาน เพื่อทรงเยี่ยมพสกนิการเป็นประจำของทุกปี พระองค์ท่านได้สืบทอดประเพณีร่วมกับพสกนิกรทุกปี ทั้งนี้เป็นความภูมิใจอันหาที่เปรียบไม่ได้ของชาวสกลนครก็คือ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระประทีปไปร่วมงานลอยกระทงร่วมกับพสกนิกรที่หนองหารบริเวณสระพังทอง สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ความเป็นมา ลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอนกันมาอย่างยาวนาน โดยสันนิษฐานว่าเป็นประเพณี ดังเดิมของอินเดีย ต่อมา ได้แพร่ขยายไปยังท้องถิ่นต่างๆ ได้แก่ เขมร พม่า ลาว และไทย ทั้งนี้ได้มีการ ปรับเปลี่ยนดัดแปลงให้ต่างไปจากเดิมบ้าง ทั้งการ ประกอบพิธีรูปแบบ และพฤติกรรม ในประเทศไทยไม่ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดได้ว่ามีประเพณีลอยกระทงตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ถือว่าเอาวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งจะตรงกับช่วงเวลาราวปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือน พฤศจิกายน เป็นวันลอยกระทง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย ซึ่เป็นพระราชพิธีหนึ่งเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม" ซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อบูชาพระเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ ่อมาได้ถือคติตามพระพุทธศาสนา คือ มีการยกโคม เพื่อบูชาพรระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ในชั้นดาวดึงส์ การลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานธี นิยมทำกันเป็นประเพณีในวันเพ็ญเดือนสิบ ดังปรากฏในราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน ตอนที่ว่าด้วยลอยพระประทีปว่า " การลอยพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็น นักขัตฤกษ์ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวง ไม่เฉพาะ แต่การหลวง แต่จะนับเป็นพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ด้วย ไม่ได้มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์อันใดเกี่ยวข้อง เนื่อง ในการลอยพระประทีปนั้น เว้นไว้แต่จะเข้าใจว่า ตรงกับคำที่ว่าลอยโคมลงน้ำเช่นที่กล่าวมาแล้ว แต่ควรนับว่าเป็นราชประเพณี ซึ่งมีมาในแผ่นดิน สยามแต่โบราณ ตั้งแต่พระนครยังอยู่ฝ่ายเหนือ" ทั้งนี้ได้กล่าวถึงตำนานเรื่องนางนพมาศ หรือท้าวจุฬาลักษณ์ ระสนมเอกของพระอรุณมหาราชหรือพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยว่าในฤดูเดือนสิบสองเป็นเวลาเสด็จลงประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน พระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายในตามเสด็จในเรือพระที่นั่ง ทอดพระเนตร การนักขัตฤกษ์ ซึ่งราชฎรเล่นในแม่น้ำตามกำหนดปี เมื่อนางนพมาศได้เข้ามารับราชการ จึงได้คิดอ่านทำ กระทงถวายพระเจ้าแผ่นดินเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ ให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล และคิดคำขับร้องขึ้นถวาย และให้เจ้าแผ่นดินทรงดำริจักเรือพระที่นั่งเทียบขนานกันให้ใหญ่กว้างสำหรับสนมฝ่ายในจะได้ตามเสด็จประพาสได้มากกว่าแต่ก่อน ทั้งนี้ยังมีความปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นพระดำรัสของพระร่วงว่า" แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้น้ำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาท ณ นัมมทานที ตราบเท่ากาลปาวสาน" ด้วยเหตุดังกล่าว โคมลอยรูปดอกบัวจึงปรากฏมาจนถึงทุวันนี้ แต่เปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงพระประทีป"

เหตุผลในการจัดประเพณีลอยกระทง เหตุผลในการจัดประเพณีลอยกระทงนั้น มีความหลากหลายตามความเชื่อต่างๆ ของทั้งทางด้านศาสนาพุทธศาสนาพราหมณ์ และตามความเชื่ออื่นๆ อาทิตย์
๑. เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกับจากเทวโลกเมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพุทธมารดา
๒. เพื่อสักระพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าที่ประทัยรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่ริมแม่น้ำนัมมนที ในประเทศอินเดีย
๓. เพื่อบูชาจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศของพระพุทธเจ้า
๔. เพื่อบูชาอุปคุตตเถระที่บำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ซึ่งตามตำนานเล่าว่า เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพระยามารได้
๕. เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
๖. เพื่อแสดงความสำนึกบุญคุณของพระแม่คงคา ที่ได้นำมากินมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งขอขมาลาโทษในแหล่งนั้นๆ ไม่สะอาด
๗. เพื่อบูชาท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
๘. เพื่อลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
๙. เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน
๑๐. เพื่ออธิษฐานขอพรในสิ่งที่ตนปรารถนา

ความสำคัญของประเพณีลอยกระทง การลอยกระทงเป็นประเพณีที่สังคมไทยสืบทอดต่อกันมาช้านาน ด้วยฐานคติความเชื่อต่างๆ ดังกล่าวข้างตนนั้น ทำให้ประเพณีลอยกระทง มีความสำคัญหลายประการ ได้แก่
๑. เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งที่ตนศรัทธาและเคารพนับถือ
๒. เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูและเห็นคุณค่าของน้ำ รวมทั้งรู้จักสำนักต่อความไม่เหมาะสมต่อน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกต่อการอุปโภค บริโภคสำหรับมนุษย์
๓ ก่อให้เกิดความสามัคคี ส่งเสริมประชาธิปไตย และการทำงานเป็นกลุ่ม ในกรณีที่ร่วมกันประดิษฐ์กระทงเป็นกลุ่มสำนักงาน โรงเรียน หมู่บ้าน เป็นต้น
๔. เป็นการสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย ไม่ให้เสื่อมสูญ
๕. เป็นการส่งเสริมศิลปะกรรมในการประดิษฐ์กระทงการประดับตกแต่งสถานที่
๖. เป็นการสร้างทัศนคติให้ประชาชน รักและห่วงแหนเกี่ยวกับประเพณีไทย
๗. เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว
๘. เป็นการทำนุบำรุงศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปทำบุญตักบาตรในตอนเช้า นับเป็นการสืบอายุพุทธศาสนาต่อไป


image รูปภาพ
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar