ประเพณีไหลเรือไฟ อำเภอเต่างอย

        พิธีกรรมนี้ชาวไทโย้ยได้ถือปฏิบัติกันช้านาน ตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะมีความเชื่อมาแต่ดั้งเดิมว่า การบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ครั้งที่เสด็จไปแม่น้ำนันมทานที โดยครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรดพระยานาค ก่อนที่พระองค์เสด้จกลับได้ประทับรอยไว้ ที่ริ่มฝั่งแม่น้ำนันมทานนทรี ซึ่งรอยพระบาทนี้ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของเทวดาและมนุษย์ตลอดสัตว์ทั้งหลาย พากันกราบไหว้มาถึงทุกวันนี้ เมื่อใกล้ฤดูฝนในวันเพ็ญเดือน 10 จะมีการนำเรือไฟเพื่อบูชารอยพระบาท เรือจะประกอบด้วย ท่อนกล้วย นำมาทำเป็นเรือพาย 5 - 6 เมตร ภายในจะบรรจุด้วยข้าวต้ม ขนม กล้วย ออ้ย มะพร้าวอ่อน เผือก มันส่วนต้นเรือจะประดับตกแต่งด้วย ดอกไม้ รูปเทียนตะเกียงขี้ไต้ และดอกไม้ไฟ จุดสว่างไสวตลอด จากต้นน้ำ จนถึงท่าวัดกลางที่กำหนด ส่วนเครื่องดนตรีและผู้คนนั้น จะต้องเป็นผู้ชายล้วนๆ และเต้นประกอบดนตรีอยู่บนเรือไฟ ดนตรีบนเรือไฟนั้ประกอบด้วย กลอง ฉิ่ง ฉาบ กั๊บแก๊บ ฆ้อง ซึ่งเป็นจังหวะที่ครึกครื้นมาก พิธีไหลเรือไฟสมัยก่อน เมื่อมีการเตรียมเรือไฟไว้เรียบร้อยแล้ว ก่อนวันเพ็ญเดือน 10 แล้ว ก็จะทำพิธีตั้งเรือไฟ ที่ท่าวัดเหนือ ฮ่องอุปคต โดยผู้นำทางการประกอบพิธี ปล่อยให้เรือไฟลำแรกไหลในเวลา 18.30 น ลงมาสิ้นสุดที่ท่าวัดกลาง เรือไฟมีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ 1. แม่วอง 2. ตัวเรือไฟ แม่วองคือ ท่อนกล้อยยาว 80 เซนติเมตร เป็นรูปจัตุภัส ปักก้านจู้ 4 อัน โดยผู้ปักจะเป็นผู้นำในการประกอบพิธ๊ไหลเรือไฟ พร้อมกับกล่าวคำอัญเชิญ เจ้าของลำน้ำ ผีเงือก นางเงือกทั้งหลาย ให้อพยพไปยังถิ่เดิม คือฮ่อมปากกระดิง โดยชาวเมืองได้นำเรือพายอันสวยงามเพื่อให้ใช้เป็นพาหนะไหลกลับสู่ ฮ่อมปากกระดิง ขอให้เงือกทั้งหลายลงไปพร้อมกับแม่วอง ส่วนองค์ทวยเทพเบื้องบนสุด ผู้นำกล่าวพิธีจะกล่าวคำขอให้ สถิต รักษา ชาวบ้านเมืองไทโย้ย ให้รุ่งเรืองสืบไปทุกๆปี เมื่อปล่อยแม่วองทั้ง 6 ลำ แล้วก็จะเป็นการปล่อยเรือไฟจริงตามติดกันลงไปเรื่อๆจนครบทุกวัด ชาวบ้านต่างก็มีความสนุกสนาน ในการชมผู้ชายอยู่บนเรือไฟ เพราะว่ามีท่าเต้นรำในจังหวะถวายนางเงือก จังหวะลำโทน เด้งหน้า เด้งหลัง คล้ายกับผ้าเตี่ยวผืนน้อยชิ้นเดียวนั้นจะหลุดอยู่เรื่อยๆ คนเต้นรำในเรือจะต้องมีการใส่มงคลครอบหัวเป็นสีแดง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก

        จังหวัดสกลนคร จัดงานประเพณีไหลเรือไฟขึ้นที่ อำเภออากาศอำนวยและอำเภอเต่างอย โดยจัดขึ้นในเดือนกันยายน ของทุกปี พิธีกรรมนี้ชาวไทโย้ยได้ถือปฏิบัติกันช้านาน ตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะมีความเชื่อมาแต่ดั้งเดิมว่า การบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ครั้งที่เสด็จไปแม่น้ำนันมทานที โดยครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรดพระยานาค ก่อนที่พระองค์เสด้จกลับได้ประทับรอยไว้ ที่ริ่มฝั่งแม่น้ำนันมทานนทรี ซึ่งรอยพระบาทนี้ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของเทวดาและมนุษย์ตลอดสัตว์ทั้งหลาย พากันกราบไหว้มาถึงทุกวันนี้ เมื่อใกล้ฤดูฝนในวันเพ็ญเดือน 10 จะมีการนำเรือไฟเพื่อบูชารอยพระบาท เรือจะประกอบด้วย ท่อนกล้วยนำมาทำเป็นเรือพาย 5 - 6 เมตร ภายในจะบรรจุด้วยข้าวต้ม ขนม กล้วย อ้อย มะพร้าวอ่อน เผือก มันส่วนต้นเรือจะประดับตกแต่งด้วย ดอกไม้ รูปเทียนตะเกียงขี้ไต้ และดอกไม้ไฟ จุดสว่างไสวตลอด จากต้นน้ำ จนถึงท่าวัดกลางที่กำหนด ส่วนเครื่องดนตรีและผู้คนนั้น จะต้องเป็นผู้ชายล้วนๆ และเต้นประกอบดนตรีอยู่บนเรือไฟ ดนตรีบนเรือไฟนั้นประกอบด้วย กลอง ฉิ่ง ฉาบ กั๊บแก๊บ ฆ้อง ซึ่งเป็นจังหวะที่ครึกครื้นมาก


image รูปภาพ
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar