แนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรม เนื่องในประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช ๒๕๖๔ “สงกรานต์วิถีใหม่ สืบสานวัฒนธรรมไทย”

๑. แนวคิด “สงกรานต์วิถีใหม่ สืบสานวัฒนธรรมไทย” สื่อความหมายได้ ดังนี้
    ๑) สงกรานต์วิถีใหม่ หมายถึง การดำเนินการจัดงานตามแนวทางมาตรการเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๔ ของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (สคบ.) และคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัด/กทม. ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยในช่วงประเพณีสงกรานต์ และ การบังคับใช้อย่างเคร่งครัด รวมถึงการรักษาความปลอดภัยในด้านอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    ๒) สืบสานวัฒนธรรมไทย หมายถึง การอนุรักษ์ สืบสานและส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ที่ทรงคุณค่า สาระอันดีงาม และการปฏิบัติตามแบบของประเพณีวัฒนธรรมที่เหมาะสม ซึ่งสะท้องถึงการแสดงออกที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีให้แก่กันและกัน และบรรยากาศแห่งการแสดงความกตัญญูที่สามารถ แสดงออกได้ ต่อพระพุทธศาสนา ครอบครัว บรรพบุรุษ บิดามารดา และผู้มีพระคุณ เช่น การเข้าวัดฟังเทศน์ ฟังธรรม การทำบุญตักบาตร การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่

๒.แนวทางและมาตรการรณรงค์ เพื่อดำเนินการประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช ๒๕๖๔
    ๑) การรณรงค์เรื่อง “สงกรานต์วิถีใหม่” ประกอบด้วย
        ๑.๑ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์แบบ New Normal โดนเน้นเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยวและสุขภาพ งดเว้นการจัดกิจกรรมที่มีการ รวมกลุ่มคนจำนวนมากและมีการสัมผัสกันใกล้ชิด
        ๑.๒ ขอความร่วมมือประชาชนที่ขับขี่ยานพาหนะและใช้ถนนหนทางให้ปฏิบัติตาม กฎหมาย กฎจราจรอย่างเคร่งครัด รวมถึงช่วยสอดส่อง หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ในกรณีพบเห็นผู้ที่ปฏิบัติตน
        ๑.๓ ดำเนินกิจกรรมสงกรานต์ให้สอดคล้องกับแนวทางมาตรการเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๔ ของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (ศคบ.) ดังนี้
            ๑.๓.๑ การจัดพิธีรดน้ำดำหัว ขอให้ยึดถือตามมาตรการ DMHT (Tracking) หลีกเลี่ยงการจัดในที่คับแคบ หรือในพื้นที่ห้องปรับอากาศ จํากัดจำนวนผู้เข้าร่วม ตามขนาดของสถานที่ ๑ คน ต่อ ๑ ตารางเมตร และการรดน้ำ ฯ ให้มีการเรียงแถวเข้ารดน้ำแบบเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย ๑ เมตร และสวมหน้ากากอนามัยทุกคน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน
            ๑.๓.๒ การจัดงานสงกรานต์ ขอให้ยึดถือตามมาตรการ DMHT (Tracking) ควร จัดในพื้นที่โล่งแจ้ง อากาศระบายได้ดี และในพื้นที่ที่แสงแดดส่องถึง จํากัดจำนวนผู้เข้าร่วมตามขนาดของ สถานที่ ๑ คนต่อ ๑ ตารางเมตร งดการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มเล่นสาดน้ำ และงดการจัดกิจกรรมที่มีการ สัมผัสกันใกล้ชิด ได้แก่ งดประแป้ง งดการเล่นปาร์ตี้โฟม หลีกเลี่ยงการจัดเลี้ยง และสังสรรค์ในกลุ่มที่มาจาก หลากหลายพื้นที่
        ๑.๔ การขอความร่วมมือองค์กร/หน่วยงานผู้จัดงาน ดำเนินกิจกรรมสงกรานต์ให้สอดคล้อง กับมาตรการผ่อนปรน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 และขอความร่วมมืองดดื่ม แอลกอฮอล์ในสถานที่สาธารณะตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑
        ๑.๕ กิจกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
    ๒) การรณรงค์ เรื่อง “สืบสานวัฒนธรรมไทย” ประกอบด้วย
        ๒.๑ ส่งเสริมให้จังหวัดต่างๆ ใช้พื้นที่จัดกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมในเทศกาล สงกรานต์ ร่วมกันสืบสานประเพณีที่ดีงาม เหมาะสม
        ๒.๒ ขอความร่วมมือจากประชาชนในการสืบสานคุณค่าสาระและสิ่งที่ควรทำของประเพณี สงกรานต์ เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือน วัด สถานที่สาธารณะ ทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์ สรงน้ำพระ ขอพรผู้สูงอายุ
        ๒.๓ รณรงค์ให้แต่งกายด้วยชุดสุภาพ ใช้ผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น หรือชุดไทยย้อนยุค เข้าร่วมใน กิจกรรมต่าง ๆ
        ๒.๔ การขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ สนับสนุนศิลปินพื้นบ้านในการจัดกิจกรรม การละเล่น และการแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ตามแนวทางมาตรการเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๔ ของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๔ (สคบ.) และคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัด /กทม. เพื่อเป็นการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ทั่วไป ได้ร่วมกันสืบสานประเพณี โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมที่ถูกต้องเหมาะสม และร่วมกันเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar